25 พฤศจิกายน 2560

ของยุคเก่า เจอคนยุคใหม่ คลาสสิคสายฮิปส์


















กล้องฟิล์ม ไม่ใหม่
แต่คนจะถ่าย มือใหม่
.
เลยเกิดการเดินทางมาพบเจอกัน
ระหว่างของยุคเก่า และคนยุคใหม่
.
เชื่อไหมว่า กล้องก็มีเรื่องราวการเดินทาง มีการเติบโต ผ่านวันวัยมาเกือบจะเท่าๆ กับอายุคน
.
เกริ่นมาว่ามือใหม่เจอกล้องเก่า ก็แปลว่ายังแปลกหน้าต่อกัน
.
ดิจิตัลเป็นเรื่องที่เด็กยุคนี้ลืมตามาก็เห็น รู้จัก ใช้เป็น ง่าย
แต่พอไปเจอของเก่าเข้าข่ายโบราณ เด็กรุ่นใหม่ไปไม่เป็นก็มี
ทีนี้ ก็บังเอิ๊นบังเอิญ ไอ้ความคลาสสิคชนิดย้อนยุคมาแล้วเท่เนี่ย
มันก็วนมาทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้กระทั่ง เรื่องการถ่ายภาพ
.
เรื่องเลยมีอยู่ว่า น้องๆ รุ่นใหม่สนใจจะเล่นกล้องเก่า ก็คือ..กล้องฟิล์มนี่ล่ะ
แต่น้องไม่คุ้นเคยกับระบบการถ่ายแบบสมัยก่อน เลยต้องมองหากล้องที่ใช้งานง่ายๆ แล้วยังได้ภาพที่ดูเก๋า อีกทั้งคล้องคอก็ดูเก๋ นี่ล่ะ.. มาถูกทางละ 
.
ส่วนมือใหม่ ที่ใช้กล้องดิจิตัลมาอย่างจริงจังปรับค่าต่างๆ ได้คล่องแคล่วแล้ว
อาจคิดว่าไม่เร้าใจก็ข้ามตรงนี้ไปได้เลยน๊า 
แต่น้องใหม่สายออโต้ ห้ามพลาดนะ.. ง่ายในง่าย อยู่ตรงนี้แล้ว
แค่เพียงทำความรู้จักกับ ฟิล์ม ก็หยิบกล้องมาใส่ฟิล์ม ก็ออกไปกดถ่ายได้แล้ว 




.
มาๆ มาแนะนำตัวพี่กล้องฟิล์มคลาสสิค ที่ใช้ง่ายสำหรับมือใหม่กันเถอะ
.
Konica C35 AF
เป็นกล้องฟิล์ม 135 แบบคอมแพ็ค สัญชาติซามูไร เปิดตัวในปี 1977 
และก็ได้รับความนิยมมาก เพราะมันคือกล้องระบบออโต้โฟกัส ตัวแรกของโลก
.
คือก่อนหน้านี้กล้องยอดนิยมจะเป็นแบบเรนจ์ไฟเดอร์ เราต้องหาระยะจากตัววัดในกล้อง
แปลว่าตาเราต้องดีระดับหนึ่ง 
กับอีกแบบคือ แบบโซนนิ่งที่ต้องกะระยะเอาเอง นั่นหมายความว่าเราต้องแม่นในเรื่องการกะระยะ
.
พอมาเจอ Konica C35 AF 
ก็แค่ ยกกล้อง เล็งช่อง กดถ่าย
ง่าย ง่าย 
หวังผลได้ ว่าภาพจะชัดด้วยนะ
.
นอกจาก จะออโต้โฟกัสแล้ว
ยังวัดแสงออโต้ให้เสร็จสรรพ 
แล้วถ้ามืดไป แสงไม่พอ เปิดแฟลชช่วยได้ทันที 
.
ข้ามผ่านการหมุนหาระยะ ไปได้
เราก็ได้พบว่าการจัดแจงองค์ประกอบภาพก็ง่ายขึ้น
การถ่ายภาพให้ได้ลงตัว สวยงาม ชัดคม ทำได้มากขึ้น
.
เก็บโมเมนท์ได้ง่าย  รวดเร็ว ทันเวลา ได้ดั่งใจ 


บอกเล่าจากการใช้งานจริง

Konic C35 AF เป็นเหมือนรุ่นพี่กล้องป๊อกแป๊ก คืออย่าเรียกกล้องปัญญาอ่อนเลย กล้องใช้ง่ายไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องใช้ความคิดนะ กล้องเองมีกลไกของเค้า เรียกซะเค้าหมดกำลังใจเก็บภาพเลย ฮ่าๆ แต่ใครจะเรียกอย่างนั้นก็แล้วแต่สะดวกปากละกัน
.
เริ่มใช้ 
ใส่ฟิล์ม ปรับค่า ASA หรือ ISO ให้ตรงกับค่าฟิล์ม (ตัวปรับจะอยู่ที่หน้าเลนส์กล้อง)  เช่น ColorPlus100 ปรับไปที่ 100 
.
จะถ่ายแล้ว..ยกกล้องเล็ง
ในช่องมองภาพ จะมีกรอบสีเหลือง เพื่อบอกว่าส่วนไหนที่เราเห็นจะอยู่ในเฟรม และตรงกลางกรอบสีเหลืองก็จะมี สี่เหลี่ยมเล็กๆ ซ้อนอยู่ ตรงนี้ก็เพื่อจะบอกว่าเป็นจุดโฟกัสนะ ซึ่งก็คือตรงกลางภาพนั่นล่ะ 
.
ระยะชัดของภาพ
โดยปกติ เราถ่ายรูป subject หลักเช่น คน ดอกไม้หรือสิ่งของ เราก็มักจะวางไว้กลางภาพอยู่แล้ว แต่ระยะชัดของภาพล่ะ เราต้องถ่ายห่างจากแบบแค่ไหน ตรงนี้ คือเรื่องของเลนส์ 

Konica C35 AF มีเลนส์ที่ติดมากับกล้องที่ระยะ 38 mm. รูรับแสงกว้างสุดที่ 2.8
เลนส์ Konica Hexanon ที่ติดกล้องมาเป็นระยะ normal  คือระยะค่อนข้างใกล้เคียงสายตาคนเรา ตาเราเห็นอย่างไร ยกกล้องมาเล็งในส่วนที่เข้าเฟรมก็จะได้ภาพคล้ายกับที่เราเห็น แต่ไม่ได้เป๊ะ 100% เพราะยังมีการเหลื่อมของการมองเห็นจากช่องมองภาพกับการบันทึกภาพของเลนส์ ตรงนี้ แต่ละกล้อง เราต้องลองใช้ให้คุ้นมือแล้วจะพอเข้าใจ 
.
จากที่ลองใช้ เราควรถ่ายห่างจากวัตถุหรือแบบ โดยประมาณ 1-1.5  เมตร ถ้าไกล้กว่านั้นภาพก็จะมีเบลอได้ ส่วนค่า F หรือการวัดแสงเป็นแบบอัตโนมัติ รูรับแสงกว้างสุด 2.8 นอกจากถ่ายที่แสงน้อยได้ดีแล้วยังให้ระยะชัดตื้น (หน้าชัด-หลังเบลอ) ได้ดีด้วย ในเรื่องของสปีดชัตเตอร์ กล้องก็ช่วยหาค่าที่พอดีให้กับรูรับแสงเช่นกัน มีตั้งแต่ 1/60 ถึงสูงสุด 1/250 
.
ในทางเทคนิคนั้น มือใหม่อาจยัง งุนงงกับค่าเหล่านี้ แต่นั่นคือการอ่านการทำงานของกล้อง อีกหน่อยเราเข้าใจการทำงานเค้าแล้วเราก็จะคุยกับเค้าได้มากขึ้น เป็นกำลังใจให้นะ

ความรู้สึกเมื่อพกพา ใช้สอย
เป็นกล้องที่พกสะดวก จับถนัดมือ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป วัสดุเป็นพลาสติกแต่มีความแน่นดูมั่นคงพอตัว ห้อยคอได้ไม่รู้สึกเป็นภาระ
เวลายกขึ้นมาเล็งดูไม่โดดเด่นจนคนทั่วไปจะรู้สึกกลัว แต่มีนิดเดียวที่เสียงชัตเตอร์ลั่น ค่อนข้างดังพอสมควร แอบถ่ายแมว มีสะดุ้งเล็กน้อย 

ข้อดี
โฟกัสง่าย จุดเด่นเค้าเลยนี่นะ
ออกแบบสวย ดูหล่อ ไม่วินเทจแต่ก็ไม่เฟี้ยวมากไป ขณะเดียวกัน ที่กลับมาใช้ในปัจจุบันไม่ได้ดูเชยแต่อย่างใดเลย 

ข้อเสีย
เท่าที่พบมา แป้นหมุนค่า ASA ปรับยาก คือออกแบบมาให้หมุนยากเพื่อป้องกันมากกกว่า
แฟลช หมดสภาพ กลับบ้านเก่ากันไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ใช้ถ่ายกลางวันหรือในอาคารที่แสงน้อย ค่า f2.8 ยังพอเก็บภาพได้

ความประทับใจ
ถ่ายง่าย ได้ภาพแน่นอน การวัดแสง การโฟกัสทำได้แม่นยำ เลนส์มีความคม 
.
การที่เราถือกล้องไปถ่ายแล้วคาดหวังว่าเก็บภาพตรงหน้าไว้ได้ แสง สีแบบนี้ ในแบบที่ตาเราเห็นได้ ถือเป็นความน่าพอใจอย่างมาก ชนิดที่คนถ่ายไม่ต้องการปรับตั้งค่าอะไร แค่ ยกกล้อง เล็ง กดถ่าย แล้วได้ภาพออกมาดีด้วย

ถือเป็นความน่าประทับใจอย่างยิ่ง

.
Camera : Konica C35 AF
Film : Kodak ColorPlus200
Develop : A&B Digital Lab
Location : สวนรถไฟ, ทุ่งดาวเรือง ถ.เกษตรนวมินทร์, Bluetamp Cafe, ปากช่อง, สะพานลอยยูเนียนมอลล์ 

.
มาดูหน้าตาหล่อเหลา เอาใจสายฟิล์มกันหน่อย
























ตัวอย่างรูปถ่ายได้ ถ่ายดี ถ่ายเพลินเกินห้ามใจ








































รายละเอียดกล้องแบบเป็นทางการมากๆ 
เผื่อนักอ่านรีวิวที่ชอบศึกษาสเป็ค (แบบเรา) ต้องการทราบ 
  • Type: 35mm Autofocus & Auto exposure compact camera
  • Lens: Hexanon 38mm f/2.8, 4 elements in 3 groups
  • Shutter: Programmed Leaf shutter with 3 speeds – 1/60s, 1/125s & 1/250s
  • Exposure: Fully automatic – 25 – 400ASA
  • Meter: CdS
  • Sensitivity: EV 9 – EV 17 with 100 asa film
  • Viewfinder: Bright Line 0.41 Magnification
  • Indication: Underexposure warning light, Parallax Correction Mark, Focus measuring square
  • Flash: GN14 – Exposure determined by range measured by autofocus
  • Film Winding: Manual – Lever wind + rewind crank
  • Features: Lens cap obscures viewfinder to prevent errors!
  • Dimensions: 132×76×54mm
  • Weight: 375 grams
ขอบคุณข้อมูลจาก  https://www.lomography.co.th/magazine

5 ความคิดเห็น:

  1. ขอถามหน่อยนะครับ ฟิลม์แรกที่ผมถ่ายรู้สึกว่ามันไม่โฟกัสหรืออะไม่รู้ แต่ผมยืนห่างพอสมควรแต่ภาพที่ออกมามันเบลอไปทั้งภาพเลย มันเกิดจากเราไม่ให้โฟกัสมันหรือเรามือสั่น หรือมันผิดพลาดตรงไหนเหรอครับ อยากได้ความคิดเห็น

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เป็นไปได้หลายประเด็นค่ะ มือสั่นก็ใช้ แสงน้อยไปสปีดลงไปต่ำเกินกว่าที่มือเราจะถือถ่ายได้ก็มีส่วนค่ะ หรืออาการเยอะสุด อาจจะเลนส์มีปัญหาค่ะ

      ลบ
  2. ตัวถ่านคือสำหรับแฟลชใช่มั้ยคะ​ ถ้าไม่ได้ใส่ถ่านจะถ่ายได้มั้ยคะ

    ตอบลบ
  3. ปรับค่า ASAไม่ตรงมีผลต่อภาพไหมคะ

    ตอบลบ